ถ่านไฟเก่าหรือจิตปรุงแต่ง ? เผยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความคิดถึงแฟนเก่า

SHARE

ถ่านไฟเก่าหรือจิตปรุงแต่ง ? เผยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความคิดถึงแฟนเก่า

ถ่านไฟเก่าหรือจิตปรุงแต่ง ? เผยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความคิดถึงแฟนเก่า

 

ถ้าพูดถึงปัญหาความรักตลอดกาลที่ไม่ว่ายุคไหนก็ต้องพบเจอ คงหนีไม่พ้นปัญหา “คิดถึงแฟนเก่า” ปัญหาสุดแมสของชาวเน็ตที่แม่สื่อ บริษัทจัดหาคู่ระดับไฮเอนด์ Bangkok Matching ขอยกให้เป็น Timeless Topic ที่เราล้วนพบประเด็นความรัก ทั้งจากคนรอบตัวและในโซเชียลเกี่ยวกับ “แฟนเก่า” หรือ “รักครั้งเก่า” เต็มไปหมด

 

แต่จริง ๆ แล้วอาการคิดถึงแฟนเก่าหรือรักเก่านั้นมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่ซ่อนอยู่  โดยนักจิตวิทยาจาก The University of Kansas อย่าง ศาสตราจารย์ ดร. Ting Ai ได้จัดให้เป็นประเภทความคิดถึงความหลังที่เรียกว่า Nostalgia เป็นความโหยหาอดีตที่เคยหวานชื่นรูปแบบหนึ่งนั่นเองค่ะ

 

  • ความคิดเห็นประเด็น “แฟนเก่า” บนโลกออนไลน์ แบ่งได้ 4 ประเภท

 

แต่ก่อนจะไปดูสาเหตุที่ว่า “ทำไมคนเราถึงชอบหวนนึกถึงรักครั้งเก่า แฟนคนเก่า” เรามาลองจำแนกความคิดเห็นของคนในโลกออนไลน์ออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ เพื่อให้มองเห็นภาพรวมกันก่อนค่ะ ว่าตอนนี้เราอยู่ในกลุ่มไหนกันแน่

Bangkok Matching มองว่าเราสามารถแบ่งกลุ่ม “ความคิดถึงแฟนเก่า” เอาไว้ได้ 4 ประเภทหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

 

  • กลุ่มคนที่คิดถึงและอยากกลับไป

สำหรับกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ยังมีความรู้สึกดี ๆ อยู่และอยากกลับไปแก้ไข แก้ตัว กลับไปเขียนตอนจบที่ต่างจากเดิมให้กับหนังสือที่เคยอ่านไปแล้ว คนกลุ่มนี้จะมีพฤติกรรมเช่น พยายามติดต่อหาแฟนเก่า พยายามเข้าไปดูชีวิตเขา หรือรอคอยโอกาสเหมาะ ๆ ที่จะเข้าไปแก้ไขอดีต

 

  • กลุ่มคนที่กลับไปแล้วแต่ลงเอยเหมือนเดิม

กลุ่มนี้คือคนที่เคยกลับไปรีเทิร์นแล้ว แต่พบว่าไม่สามารถเป็นเหมือนเดิมได้ จะเป็นการตอกย้ำความผิดพลาดซ้ำสอง แต่จะเป็นกลุ่มคนที่ทำใจได้แล้วว่า “คิดถึง” ทำได้ แต่การ “กลับไป” นั้นไม่ควร

 

ถ่านไฟเก่าหรือจิตปรุงแต่ง ? เผยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความคิดถึงแฟนเก่า
ถ่านไฟเก่าหรือจิตปรุงแต่ง ? เผยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความคิดถึงแฟนเก่า

 

  • กลุ่มที่เตือนว่าอย่ากลับไป

โดยส่วนใหญ่จะเป็นเพื่อน ครอบครัว หรือคนรอบตัวที่เคยรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสองคนที่เลิกรามาก่อน หรือเป็นคนที่เคยมีประสบการณ์ไม่ดีเกี่ยวกับการกลับไปคืนดีกับแฟนเก่า จะเป็นกลุ่มที่คอยเตือนให้เห็นถึงความจริง และสิ่งที่ไม่สามารถกลับไปแก้ไขได้ในความสัมพันธ์

 

  • กลุ่มคนให้กำลังใจ

เป็นกลุ่มที่รับฟังแต่ไม่ตัดสิน เพียงแต่แนะนำข้อคิดดี ๆ ให้กับคนทีกำลังรู้สึกคิดถึงและอยากกลับไปหารักครั้งเก่า อาจจะเป็นกลุ่มเพื่อน ครอบครัว หรือคนในโลกออนไลน์ที่พร้อมให้คำปรึกษา

 

  • ผลการทดลองชี้ ความเจ็บจากอาการ “คิดถึงแฟนเก่า” เทียบเท่ากับ “ความเจ็บทางกาย”

สำหรับข้อนี้เป็นข้อสรุปจากการทดลองเกี่ยวกับความเจ็บปวดที่สมองของมนุษย์เรามีต่อ “แฟนเก่า” โดยเป็นการทดลองจากนักประสาทวิทยา ศาสตราจารย์ ดร. Mask Underwood ที่ได้นำกลุ่มคนอกหักที่มีแผลใจใหม่ ๆ ไม่เกินครึ่งปี เข้าร่วมการทดสอบทางสมองด้วยเครื่อง MRI โดยสแกนสมองผู้เข้าร่วมขณะกำลังมองดูรูปภาพ 3 รูปที่ต่างกัน ได้แก่ ภาพของคนรักเก่า ภาพของเพื่อน ภาพมือสัมผัสของร้อน

 

ผลการทดสอบพบว่า ผู้เข้าร่วมที่ถูกสแกนสมองส่วน Insula และ Anterior Cingulate Cortex ซึ่งเป็นสมองที่มีปฏิกิริยาต่อการคาดการณ์และความเครียด ด้วยเครื่อง MRI พบว่ามีสมองส่วนดังกล่าวเกิดปฏิกิริยาขึ้นเมื่อผู้ทดลองมองภาพของคนรักเก่า และภาพมือที่กำลังสัมผัสของร้อน ส่วนภาพของเพื่อนไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ ต่อสมองส่วนนี้ นักประสาทวิทยาจึงสรุปเอาไว้ว่า “สมองของคนเราตอบสนองต่อความเจ็บปวดทางกายและความเจ็บปวดทางใจไม่ต่างกัน”

 

  • “อยากกลับไปหาแฟนเก่า” มีฤทธิ์เทียบเท่ากับอาการ “อยากยา” จริงหรือไม่ ?

สำหรับเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับอารมณ์ความคิดถึงแฟนเก่าและรู้สึกอยากกลับไปขอคืนดี ซึ่งหลายคนแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การตามรังควาน การขอคืนดีผ่านช่องทางส่วนตัวแบบไม่มีลิมิต นั่นอาจเป็นเพราะการทำงานของสมองตามที่นักประสาทวิทยา ดร. Lucy Brown ได้ทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง 15 คน ที่เคยมีพฤติกรรมตามง้อขอคืนดีแฟนเก่าด้วยวิธีที่ “ไม่เหมาะสม” ด้วยการให้ดูรูปแฟนเก่าและทำการเข้าเครื่อง MRI สแกนสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจและการเสพติดพบว่า ผู้เข้าร่วมมีการตอบสนองต่อภาพแฟนเก่าคล้ายกับอาการของคน “อยากยา” ที่จะไขว่คว้าสิ่งหอมหวานที่เคยได้เพื่อกระตุ้นให้ Dopamine ซึ่งเป็นสารแห่งความสุขหลั่งออกมา จึงทำให้เราเข้าใจสาเหตุที่คนเราอยากจะกลับไปหาแฟนเก่าเพราะสมองของเรานั้นนึกถึงโมเมนต์ดี ๆ ที่เคยมีความสุขร่วมกัน และอยากจะกลับไปทำมันอีกครั้งเพื่อให้เกิดความรู้สึกดี ๆ เหมือนในอดีต

 

  • “คิดถึงแฟนเก่า” จิตปรุงแต่ง 50 การทำงานของสมองอีก 50

ด้วยการทดลองที่เกี่ยวข้องดังกล่าวที่แม่สื่อ Bangkok Matching นำมาฝาก จึงกล่าวได้ว่า “การคิดถึงแฟนเก่า” นั้น ไม่ใช่เพียงอาการคิดเพ้อในใจ หรือเป็นความคิดถึงแบบไม่มีที่มาที่ไป แต่การคิดถึงแฟนเก่าและอาการอยากจะจุดถ่านไฟเก่าให้ลุกโชติช่วงขึ้นมาอีกครั้งนั้น มีที่มาจากการทำงานของสมองมนุษย์ที่ยังยึดติดกับความสุขเดิม ๆ ที่เคยได้ และคิดวกวนว่าถ้าเราได้กลับไปหาคนเดิม เราจะได้รับความสุขแบบนั้นกลับมาเติมเต็มความต้องการของตัวเอง จนทำให้ลืมมองไปว่าการกลับไปหาความสุขจากที่ที่มันไม่เหลือความสุขใด ๆ ไว้ให้เราแล้วนั้น อาจเป็นการพาตัวเองเข้าสู่วังวนของความเจ็บปวดที่ไม่สิ้นสุด แม่สื่อจาก Bangkok Matching ขอแนะนำว่าให้เราใช้ชีวิตแบบรู้เท่าทันสมอง รู้เท่าทันจิตใจ แล้วก้าวต่อไปอย่างเข้มแข็งค่ะ

 

[seed_social]

Top