เรียกร้องความสนใจมากไป ก็ใจพัง! “Attention-Seeker” ธงแดงใหญ่ในความสัมพันธ์
Table of Contents
Toggleไม่ว่าคู่ไหน ๆ ในการคบกันเป็นแฟนกันก็ย่อมเป็นเรื่องธรรมดาที่อยากได้รับ “ความสนใจ” จากคู่รัก แต่ บริษัทจัดหาคู่ ระดับไฮเอนด์ Bangkok Matching มองว่าถ้าหากว่าความต้องการความสนใจนั้น “มากเกินไป” การต้องเติม (ให้) เต็ม กับความสัมพันธ์ธรรมดา ๆ ก็อาจจะกลายเป็นสัญญาณ red flag ธงแดงขนาดใหญ่ที่นำความสัมพันธ์ของเราไปสู่ Toxic Relationship ได้ โดยเข้าข่ายพฤติกรรมที่เรียกว่า Attention-Seeker หรือการแสวงหาความสนใจจากคนรักที่มากเกินไปจนทำให้ต่างคนต่างอึดอัดใจ เป็นความรู้สึกที่คู่รักอีกฝ่ายถมให้เท่าไหร่ก็ไม่เคยเต็ม!
-
Attention-Seeker คืออะไร? ทำไมพบได้บ่อยในคู่รัก
สำหรับ “Attention-Seeker” หมายถึงกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมในการต้องการเรียกร้องความสนใจ มีการแสดงออกรูปแบบต่าง ๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการให้ผู้อื่นหันมาสนใจตนเองโดยไม่สนวิธีการ จึงมีคำที่มักใช้ในภาษาไทยว่าอาการ “แสวงหาความสนใจ” นั่นเองค่ะ
และสาเหตุที่เราพบพฤติกรรมเหล่านี้บ่อยในความสัมพันธ์แบบคู่รัก นั่นก็เป็นเพราะว่าในความสัมพันธ์เรามักมีความต้องการความรักและความสนใจ มีความคาดหวังว่าคนรักจะต้องเข้าอกเข้าใจเรามากกว่าผู้อื่น เอาใจเราได้ดีที่สุด และเป็น Emotional Support ที่ปลอดภัยให้กับเราได้ แต่บางครั้ง อาจมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เรียกร้องมากเกินไป จนกลายเป็นการแสดงออกด้วยวิธีการที่กลายเป็น Negative เพื่อดึงความสนใจจากคนรักมาไว้ที่ตัวเอง เช่น เข้าขัดขวางการใช้ชีวิตของอีกฝ่ายเพื่อให้เขาหันมามอบความสนใจให้กับตัวเองแทน หรือการแสดงออกแบบ Over-Acting อย่างการร้องไห้ ดราม่า ฟูมฟายเกินจำเป็น เพื่อให้อีกฝ่ายมอบความสนใจทั้งหมดมาที่ตัวเอง เป็นต้น
โดยผลการศึกษาจาก PubMed Central ที่ทำการวิจัยจากผู้หญิงจำนวน 60 คนที่มีสถานะแต่งงานแล้วและมีแนวโน้มในด้านพฤติกรรมที่ต้องการความสนใจจากคู่ครองของตัวเองมากกว่าปกติ ได้พบว่ากลุ่มคนที่มีอายุ 25-30 ปี จะมีพฤติกรรมการเป็น Attention-Seeking มากกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ โดยสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านเทคโนโลยี การใช้โซเชียลมีเดียแชร์เรื่องราวส่วนตัวมากเกินไป ทำให้คนรู้สึกต้องการความสนใจอยากเป็นจุดสนใจเพิ่มมากขึ้น อาการดังกล่าวนี้ยังเป็นอาการที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตได้อีกด้วย
-
สังเกตอย่างไร ว่าแฟนเรียกร้องความสนใจมากเกินไปจนเข้าข่าย Attention Seeker
สำหรับคู่รัก การเอาอกเอาใจ ตามใจ และมอบความสนใจให้ตามความสมควรถือเป็นเรื่องสามัญปกติทั่วไปที่ควรกระทำค่ะ แม่สื่อไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเลิกสนใจแฟนแต่อย่างใด เพียงแต่ถ้าหากคุณกำลังรู้สึกว่าแฟนหรือคู่รักของเรากำลังเรียกร้องอะไรบางอย่างที่ “มากเกินไป” ทำให้เรารู้สึกเหนื่อย ไม่เข้าใจ และเป็นฝ่ายที่ต้องวิ่งเติมความสนใจให้กับเขาอยู่เพียงฝ่ายเดียว ก็อาจเป็นสัญญาณ Red Flag ที่เราจะต้องกลับมาคิดทบทวนแล้วว่าแบบนี้เป็นเรื่องผิดปกติในความสัมพันธืหรือไม่
พฤติกรรม Attention-Seeker ในคู่รัก มีอะไรบ้าง ?
- แสดงออกทางอารมณ์ที่เกินจริง
เป็นการแสดงออกทางอารมณ์ที่ไม่สัมพันธ์กับสถานการณ์จริง เช่น การร้องไห้เสียงดังในที่สาธารณะเมื่อไม่ได้สิ่งที่ต้องการ หรือเราไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ครบถ้วน การโวยวายเสียงดัง ทำให้กลายเป็นจุดสนใจของคนภายนอกที่มองมา หรือการทำตัวน่าสงสาร รับบทเป็นเหยื่อในเรื่องราวที่เกิดขึ้น ทั้ง ๆ ที่สถานการณ์จริงอาจไม่ได้เลวร้ายเท่าที่แสดงออก
- มักขัดจังหวะบทสนทนา เกทับ หรือเล่าเรื่องเกี่ยวกับตัวเองแทน
เป็นพฤติกรรมที่พบบ่อย คือการขัดจังหวะบทสนทนาที่กำลังดำเนินอยู่และพาวกเข้าสู่เรื่องของตัวเองอย่างต่อเนื่อง หรือเริ่มเล่าเรื่องเกินจริงเกี่ยวกับตัวเองเพื่อดึงความสนใจของผู้ฟัง พูดข่ม พูดเกทับว่าเคยมีประสบการณ์เดียวกันที่ Intense มากกว่า เพื่อดึงความสนใจของคนอื่นให้มาอยู่ที่ตัวเอง
- การสร้างสถานการณ์ดราม่า
คนที่เป็น Attention-Seeker มักจะพ่วงมาด้วยความสามารถในการก่อดราม่าจากเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง เช่น การทะเลาะวิวาทกับผู้อื่น หรือการสร้างเรื่องราวที่เป็นเท็จ รวมถึงการหยิบเอาเรื่องราวความไม่พอใจที่เราไม่สามารถเติมเต็มความสนใจมาเป็นประเด็นดราม่าสร้างความรู้สึกผิด หรือความรู้สึกด้านลบให้กับเรา
- ผลวิจัยเผยเหตุผลเบื้องหลังพฤติกรรม Attention-Seeker
ผลวิจัยจากสถาบัน Sedona Sky Academy พบว่า รากลึกของพฤติกรรม Attention Seeker มักเกิดขึ้นมาจากบาดแผลหรือประสบการณ์ที่ทำให้รู้สึกต้องการความสนใจในวัยเยาว์หรืออดีต จนส่งผลต่อการแสดงออกในปัจจุบัน การมี Self-esteem ที่ต่ำกว่าปกติ หรือแม้แต่การปรารถนาที่จะเป็นผู้ควบคุมและบงการผู้อื่น ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการแสดงออกในการเรียกร้องความสนใจที่มากเกินควรจากคนรักได้ทั้งสิ้น
-
รับมืออย่างไรหากมีคนรักเป็น Attention-Seeker
สำหรับวิธีการรับมือกับคนรักที่มีแนวโน้มพฤติกรรมในการเรียกร้องความสนใจ สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการพูดคุย หาทางออกร่วมกัน ไปจนถึงการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรับความคิด พฤติกรรม เพื่อรักษาความสัมพันธ์ให้ยืนยาวต่อไปได้ โดยแม่สื่อจาก Bangkok Matching มีวิธีการรับมือกับแฟนที่เข้าข่าย Red Flag ประเภทเรียกร้องความสนใจมาฝากกันดังนี้ค่ะ
- มอบความสนใจให้เพียงพอ
โดยในขั้นแรกเมื่อพบว่าคนรักของเราต้องการความสนใจจากเรามากขึ้น การมอบสิ่งที่เป็นพื้นฐานในความสัมพันธ์อย่าง Attention ถือเป็นตัวเลือกแรกที่เราสามารถทำได้ โดยพิจารณาว่าเราให้ความสนใจกับคู่รักของเราน้อยเกินไปจริงหรือไม่ พยายามให้ความสนใจใส่ใจอย่างสม่ำเสมอ
- ทำความเข้าใจกับพฤติกรรม
นอกจากการมอบความสนใจและใส่ใจแล้ว การทำความเข้าใจและยอมรับกับพฤติกรรมในขอบเขตที่รับไหว ก็เป็นตัวเลือกที่จะช่วยรักษาความสัมพันธ์เอาไว้ได้ เช่น การรับรู้ถึงความไม่มั่นใจของเขา ความรู้สึกโดดเดี่ยว ภูมิหลังที่ไม่ดีในอดีต หรือการเปิดใจยอมรับว่านี่คือบุคลิกภาพของเราอยู่แล้ว
- สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา
เพราะการสื่อสารถือเป็นหัวใจสำคัญของการรักษาความสัมพันธ์ การสื่อสารความต้องการและทบทวนสถานะความสัมพันธ์ปัจจุบันระหว่างกันด้วยถ้อยคำที่ถนอมน้ำใจสามารถสร้างความเข้าใจที่ตรงกันมากขึ้นได้ ด้วยการบอกความต้องการของเรา รับฟังความต้องการของคู่เรา และหาทางออกที่เป็นตรงกลางร่วมกัน
นอกจากนี้ หากพบว่าการพูดคุยกันไม่เกิดประสิทธิภาพหรือให้ผลไม่ตรงกับความคาดหวัง การเข้าพบผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ หรือนักบำบัดคู่รักก็เป็นตัวเลือกที่ดีในการกระชับและรักษาความสัมพันธ์ที่มีค่าเอาไว้ไม่ให้ถูกทำลายลงไปด้วยความรู้สึกในจิตใจที่เรียกร้องมากเกินความจำเป็นเกินไปจนทำให้ใจต้องพังลง ที่สำคัญเลยคือเมื่อพบว่าความสัมพันธ์มีปัญหาคู่รักที่เข้าข่าย Attention-Seeker นั้น เราไม่ควรเพิกเฉยซุกปัญหาไว้ใต้พรมรอวันระเบิด หรือใช้วิธีการที่รุนแรงต่อกัน เพราะสุขภาพจิตที่ดีถือเป็นพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวที่มั่นคงและเข้มแข็งนั่นเองค่ะ